จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิธีการติดตั้งและใช้งาน Linksys WRT54GL


วิธีการติดตั้งและใช้งาน Linksys WRT54GL


Linksys WRT54GL เป็น router รุ่นยอดนิยมที่มีคนใช้ถามหากันอยู่บ่อยๆ เนื่องจากสรรพคุณของมันก็คือความสามารถที่ทำได้อย่างครอบจักรวาลเลยทีเดียวครับ สามารถทำตั้งค่าให้สามารถใช้งานให้เป็น repeater ก็ได้ หรือจะนำมาทำเป็น WDS ก็ยังได้ นอกจากนั้นภายในตัว router ก็ยังมีลูกเล่นมากมายให้สามารถปรับแต่งกันได้อิสระ
เมื่อซื้อ WRT54GL เราก็จะได้ตัว router, หม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 12 V, และสายแลน 1 เส้น หากต้องการใช้งานให้เราทำการต่อหม้อแปลงเข้ากับตัว router ส่วนสายแลนก็ต่อจาก router เข้าเครื่องของเรา
จากนั้นเราจะต้องเซ็ตค่า IP ของเราก่อนครับ โดยเข้าไปที่ Start > Setting > Network Connection จากนั้นก็คลิ๊กขวาที่ Local Area Network แล้วก็เลือก Properties
จากนั้นในแท็บ General ก็เลื่อนลงมาเลือก Internet Protocol (TCP/IP) แล้วก็กดปุ่ม Properties ด้านล่าง จากนั้นในหน้าจอถัดมาก็เลือกให้เป็น Automatic ทั้งคู่ครับ
หลังจากเปลี่ยนการตั้งค่าเสร็จแล้วก็ให้คลิ๊กขวาที่ Local Area Network อีกครั้ง แล้วเลือก Repair ก็จะทำให้เราได้ IP จาก router ใหม่มาใช้งาน
จากนั้นก็ทำการเปิดเว็บบราวเซอร์แล้วก็เข้าไปยัง URL http://192.168.1.1 เพื่อทำการตั้งค่า router ซึ่งจะมีช่องให้ใส่ user/password อยู่ ให้ใส่ User: admin ส่วน Password: admin ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้นของ router ครับ
หลังจากล็อคอินได้สำเร็จก็จะพบกับหน้าจอการเซ็คค่าดังด้านล่าง ข้อดีของรุ่นนี้อีกอย่างก็เห็นจะเป็นระบบความช่วยเหลือที่ค่อนข้างสมบูรณ์ทีเดียว ซึ่งในการเซ็ตแต่ละค่าก็จะมีคำอธิบายอยู่ด้านขวามือ หากไม่แน่ใจว่าเปลี่ยนค่าถูกหรือไม่ ก็สามารถอ่านข้อมูลก่อนได้ครับ
สำหรับหน้าแรก Setup จะเป็นการเซ็ตค่าเกี่ยวกับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต โดยเราสามารถเลือกโหมดการทำงานดังนี้
DHCP: จะใช้กับอินเตอร์เน็ตแบบ cable
Static IP: จะใช้กับ ISP ที่มีการให้บริหารแบบ fix IP
PPPoE: จะใช้กับอินเตอร์เน็ตแบบ xDSL อย่าง ADSL ที่เราใช้กันอยู่ก็ต้องใช้ตัวเลือกนี้ครับ
PPTP: จะใช้กับอินเตอร์เน็ตแบบ xDSL เช่นกัน
L2TP: จะใช้กับอินเตอร์ในโซนยุโรปบางประเทศ
Telstra: จะใช้กับอินเตอร์เน็ตแบบ xDSL
เมนูต่อมาก็จะเป็นเมนู Wireless เมนูนี้จะเป็นการตั้งค่าให้ router ของเรารับการเชื่อมต่อผ่าน wireless ครับ ซึ่งตัวนี้สามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 802.11g และ 802.11b จุดที่เราควรเปลี่ยนก็จะเป็น SSID ครับ อันนี้จะเป็นชื่อ wireless ของเราเมื่อทำการแสกนหาสัญญาณ wireless
เมนูต่อมาก็จะเป็นเมนู Wireless > Wireless Security เมนูนี้เป็นเมนูที่สำคัญมากอีกอันหนึ่ง ซึ่งจะใช้ในการตั้งค่ารหัสผ่านที่เราต้องการใช้เมื่อมีคนต้องการเชื่อมต่อเข้า router ของเราผ่าน wireless
ต่อมาก็เป็นเมนู Wireless > Wireless MAC Filter เมนูนี้จะใช้ในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตว่าจะให้เครื่องใดสามารถใช้งาน wireless ได้บ้าง ซึ่งจะใช้ MAC Address ในการกรองครับ หากเครือข่ายที่เราตั้งขึ้นมามีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแน่ชัดว่ามีเครื่องใดบ้าง ก็แนะนำให้ล็อค MAC ไว้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยยิ่งขึ้น
เมนูต่อมา Wireless > Advanced Wireless Setting ก็จะเป็นการตั้งค่า wireless อื่นๆ
ต่อมาก็เมนู Security จะเป็นเมนูสำหรับเปิด/ปิด firewall
เมนูต่อมาก็เป็นเมนู Access Restriction จะเป็นเมนูที่ทำให้เราสามารถควบคุมการใช้งานของผู้ใช้ได้ ซึ่งเราสามารถควบคุมได้ตั้งแต่ การตั้งวันและเวลาที่อนุญาตให้ใช้งาน, การบล็อก service บางตัว, การบล็อกเว็บไซต์ตาม url, การบล็อกเว็บไซต์ตาม keyword
ต่อมาก็เป็นเมนู  Applications & Gaming จะเป็นเมนูที่ใช้สำหรับทำ port forwarding ซึ่งบางเกมส์หรืโปรแกรมอาจจะต้องการใช้พอร์ทแปลกๆ เราก็สามารถใช้เมนูในการ forward ไปยังเครื่องคอมที่ต้องการใช้พอร์ทเหล่านี้ได้ครับ
ต่อมาก็เป็น Administration จะเป็นเมนูสำหรับการตั้งค่าต่างๆ เกี่ยวกับ router จะมีเมนูย่อยอย่างเช่น
Management: จะเป็นการตั้งค่าเกี่ยวกับเข้าจัดการ router
Log: เป็นการเปิด/ปิดและตรวจสอบ log การใช้งาน
Diagnostics: เป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่พบเมื่อใช้งาน router
Factory Default: เป็นการรีเซ็ต router ให้การตั้งค่าต่างๆ กลับไปเป็นอย่างเดิม
Fireware Upgrade: เป็นการอัพเกรด fireware
Config Management: จะเป็นการ backi\up หรือ restore ค่าที่เราเซ็ตไว้ใน router
เมนูสุดท้าย Status จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานะปัจจุบันของ router ครับ
ที่มา http://www.raspberry.co.th/webboard/index.php?topic=153.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น